เปิดประสบการณ์ใหม่ไปกับรถไฟไทย
ก่อนอื่น ต้องขอแนะนำตัวเองก่อนนะคะ ว่าเป็นน้องใหม่ของการสร้างบล็อค แต่พอดีมีเรื่องราวมากมายที่อยากแบ่งบันให้ผู้ที่ืชื่นชอบในการท่องเที่ยว และหาของอร่อยๆ รับประทานกัน .... ต้องขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ
เรามาเริ่มต้นแบ่งบันประสบการณ์กันเลยดีกว่าค่ะ
ปลายๆ ฤดูฝนแบบนี้ หลายๆ คนอาจจะยังคิดไม่ออกว่าจะไปเที่ยวไหนดี เพราะเดี๋ยวฝนก็ตก แถมหลายๆ คนอาจจะเจอเหตุการณ์ฝนตกไม่เป็นเวลา่ร่ำ เวลา เอาแน่เอานอนไม่ได้
แต่อย่าเพิ่งวิตกกังวลไปนะคะเพื่อนๆ พอดีเจ้าของบล็อคเพิ่งมีโอกาสได้ไปเปิดประัสบการณ์การใช้บริการรถไฟไทยขบวนรถนอน ซึ่งต้องบอกเลยว่า เป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับตัวเอง เพราะทีแรกก็ชั่งใจว่า จะใช้เวลาในการเดินทางนาน และอาจจะไม่ค่อยปลอดภัย สำหรับผู้หญิงที่ต้องเดินทางกันสองคน แต่ปรากฎว่าคิดผิด!!!! เพราะสิ่งที่ได้สัมผัสมา คือ การบริการที่ดี เราได้ชื่นชมทัศนียภาพสองข้างทาง อีกทั้งพอถึงเวลาก็จะมีเจ้าหน้าที่มาบริการปูเตียงนอนให้ โอ๊ย!!!! สบายได้อีก .....
ที่สำคัญคือ .... เรามีเพื่อนเดินทางกันจนเต็มขบวน ทั้งเพื่อนชาวต่างชาติ และชาวไทย ใช้บริการรถไฟกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง .... เราจึงหมดกังวลในเรื่องของความปลอดภัย เพราะมั่นใจได้ว่าปลอดภัยมาก แม้จะเป็นตู้นอน ที่ต้องนอนลำพังก็ตาม
หากเพื่อนๆ อยากลองนั่งรถไฟ ก็มีรถไฟให้ใช้บริการหลายขบวน หลายประเภท ตั้งแต่ รถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทที่เลือกใช้บริการ โดยสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเวปไซด์รถไฟได้ตามลิงค์นี้ www.railway.co.th แต่วันนี้เราเลือกใช้บริการรถเร็ว เชียงใหม่ - กรุงเทพฯ ตู้นอนพัดลม เหตุผลที่เลือกตู้นอนพัดลม เพราะเราสามารถเปิดหน้าต่างชื่นชมธรรมชาติได้ และอากาศช่วงการเดินทางค่อนข้างเย็น จึงค่อนข้างสบายในการเดินทาง อีกทั้งยังอยากเห็นธรรมชาติช่วงเย็นด้วย
ตั๋วรถไฟ ขบวนที่เราใช้บริการ หน้าตาเป็นแบบนี้
รถไฟออกจากต้นสถานีคือ จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 15.30 และจะถึงจุดหมายปลายทางเวลา 04.00 น. พอรถไฟออกจากสถานีความตื่นเต้นก็เริ่มบังเกิด เพราะสองข้างทาง ช่างเ้ป็นทัศนียภาพที่สวยงาม มีทั้งทุ่งนาเขียวขจี มีหุ่นไลกากลางนา มีบ้านเรือนทรงแปลกตา อาจจะเพราะห่างจากตัวงจังหวัดเชียงใหม่ มาพอสมควร จึงเห็นความเป็นชนบทที่ยังคงหลงเหลืออยู่้บ้าง ผ่านสถานีแม่ออนก็เจอกับสะพานขาวอันเลื่องชื่อ ช่วงที่ผ่าน ยังเห็นนักท่องเที่ยว มารอถ่ายภาพกันอยู่หลายกลุ่ม บขวนรถไฟแล่นมาได้อีกนิด ก็จะเห็นว่า ตัวขบวนรถไฟ แล่นอยู่บนทิวเขา ทำให้มองเห็นรถยนต์ส่วนบุคคลวิ่งอยู่ไกลๆ ที่สำคัญที่สุดคือ การได้ลอดถ้ำอุึโมงค์ขุนตาล อุโมงค์เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
ทัศนียภาพสองข้างทาง
ก่อนเดินทางเราสืบค้นประวัติของอุโมงค์ขุนตาลมาฝากเพื่อนๆ ด้วย ในสมัยก่อนการคมนาคมติดต่อระหว่างเชียงใหม่ กับ กรุงเทพฯ
ต้องอาศัยการล่องแพตามลำแม่ปิง ซึ่งแสียเวลาประมาณเดือนเศษ
กว่าจะถึงกรุงเทพฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ ๖
ทรงมีพระบรมราชโองการ
ให้สร้างทางรถไฟให้ถึงเชียงใหม่ เพื่อสดวกในการติดต่อ ฉะนั้นกรมรถไฟหลวงจึงได้ทำการสำรวจและวางรางรถไฟจากกรุงเทพฯ เรื่อยมา จนถึงเชิงดอยขุนตาล และไม่สามารถที่จะสร้างทางรถไฟต่อไปได้อีก เพราะเปนดอยสูงจึงเห็นมีทางเดียวเท่านั้นคือเจาะอุโมงค์เข้าไปในดอยขุนตาล ในการเจาะอุโมงค์ครั้งนี้ มีนายช่างเยอรมันชื่อ ไอเซน โฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการเจาะ ต้องใช้คนงานหลายร้อยคน ปรากฎว่ากว่าจะเสร็จเรียบร้อยมีคนงานต้องเสียชีวิตไปด้วยอุบัติเหตุและไข้ป่าเป็นจำนวนหลายสิบคน กรรมวิธีในการขุดเจาะอุโมงค์นั้น เริ่มด้วยการเจาะรูเล็กๆ โดยใช้สว่าน หรือใช้แรงคนตอกสกัด เมื่อมีรูลึกเข้าไป จึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ ฝังเข้าไปในรูนั้น เพื่อระเบิดให้เป็นอุโมงค์ใหญ่ ถ้าหินก้อนใหญ่มากไม่สะดวในการระเบิดให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ก็ใช้วิธีสุมไฟให้ก้อนหินร้อนจัดแล้วราดน้ำลงไป หินนั้นก็จะแตกเป็นเสี่ยงๆ การขนดิน และหินออกจากอุโมงค์ก็ใช้คนงานขนออกมาการขุดเจาะเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้ง 2 ข้าง เข้ามาบรรจบกันตรงกลาง ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี อุโมงค์จึงทะลุถึงกันได้ และใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนัง และหลังคาเพื่อความแข็งแรง และป้องกันน้ำรั่วซึมเมื่ออุโมงค์เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังวางรางรถไฟจากลำปางไปยังปากอุโมงค์ไม่ได้เพราะระหว่างทางต้องผ่านเหวลึกถึงสามแห่ง ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้จึงต้องใช้วิธีทำสะพานทอดข้ามระยะทาง 8 ก.ม. การสร้างสะพานข้างเหวไม่ใช่เรื่องง่ายจึงต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าที่รถไฟจะไปถึงเชียงใหม่ได้
ให้สร้างทางรถไฟให้ถึงเชียงใหม่ เพื่อสดวกในการติดต่อ ฉะนั้นกรมรถไฟหลวงจึงได้ทำการสำรวจและวางรางรถไฟจากกรุงเทพฯ เรื่อยมา จนถึงเชิงดอยขุนตาล และไม่สามารถที่จะสร้างทางรถไฟต่อไปได้อีก เพราะเปนดอยสูงจึงเห็นมีทางเดียวเท่านั้นคือเจาะอุโมงค์เข้าไปในดอยขุนตาล ในการเจาะอุโมงค์ครั้งนี้ มีนายช่างเยอรมันชื่อ ไอเซน โฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการเจาะ ต้องใช้คนงานหลายร้อยคน ปรากฎว่ากว่าจะเสร็จเรียบร้อยมีคนงานต้องเสียชีวิตไปด้วยอุบัติเหตุและไข้ป่าเป็นจำนวนหลายสิบคน กรรมวิธีในการขุดเจาะอุโมงค์นั้น เริ่มด้วยการเจาะรูเล็กๆ โดยใช้สว่าน หรือใช้แรงคนตอกสกัด เมื่อมีรูลึกเข้าไป จึงเอาดินระเบิดไดนาไมต์ ฝังเข้าไปในรูนั้น เพื่อระเบิดให้เป็นอุโมงค์ใหญ่ ถ้าหินก้อนใหญ่มากไม่สะดวในการระเบิดให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ก็ใช้วิธีสุมไฟให้ก้อนหินร้อนจัดแล้วราดน้ำลงไป หินนั้นก็จะแตกเป็นเสี่ยงๆ การขนดิน และหินออกจากอุโมงค์ก็ใช้คนงานขนออกมาการขุดเจาะเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้ง 2 ข้าง เข้ามาบรรจบกันตรงกลาง ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี อุโมงค์จึงทะลุถึงกันได้ และใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนัง และหลังคาเพื่อความแข็งแรง และป้องกันน้ำรั่วซึมเมื่ออุโมงค์เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังวางรางรถไฟจากลำปางไปยังปากอุโมงค์ไม่ได้เพราะระหว่างทางต้องผ่านเหวลึกถึงสามแห่ง ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้จึงต้องใช้วิธีทำสะพานทอดข้ามระยะทาง 8 ก.ม. การสร้างสะพานข้างเหวไม่ใช่เรื่องง่ายจึงต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าที่รถไฟจะไปถึงเชียงใหม่ได้
ได้อ่านประวัติของอุโมงค์ขุนตาลมาก่อนบ้างแล้ว พอไำด้ผ่านจริงๆ และนึกถึงเรื่องราวที่อ่านประกอบกันไป ช่างเป็นอะไรที่มหัศจรรย์ที่สุด เราเห็นเพื่อนชาวต่างชาติตื่นเต้น และอุทานกันใหญ่ เพราะใช้เวลาอยู่ในอุโมงค์ค่อนข้างนาน
โฉมหน้าเตียงนอนของเรา (แอบถ่ายภาพนายแบบ)
หลังจา่กผ่านสถานีลำปางไปได้นิดหน่อย ก็เริ่มมองไม่เห็นทัศนียภาพแล้ว เพราะความมืดเริ่มมาเยือน เราจึงทำได้แค่เพียงเปิดไฟหัวเตียง และอ่านหนังสือก่อนนอนเท่านั้น ....หลังจากนั้น ก่อนจะถึงสถานีจุดหมายปลายทาง ราวๆ 30 นาที จะมีเจ้าหน้าที่มาปลุกเราให้เตรียมตัวลงจากขบวนรถไฟ ..... และคอยส่งเราจนเราเดินไปในสถานีเรียบร้อย รถไฟจึงเคลื่อนขบวนออกไป.... เป็นอันว่า ถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ สนุกสนาน และประทับใจ จบการเดินทางไปขาไป....
เพื่อนๆ สามารถติดตามอ่านเรื่องราวต่อไป เป็นการท่องเที่ยว และตระเวนรับประทานของอร่อยในจังหวัดอยุธยาได้ครั้งหน้านะคะ .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น